คาถาบูชาสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ
...................
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหัง สุคะโต นะโมพุทธายะ
...................
พระคาถาชินบัญชร
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้นก่อนเจริญภาวนาชินบัญชรตั้งนะโม 3 จบก่อน แล้วระลึกถึง
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง
สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล
จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ
ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเก
ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเก
เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโว
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุต
ตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะ
กัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
กัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลัง
กาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
กาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ
ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ
ชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.
ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ
ชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.
"""""""""""
คำแปล พระคาถาชินบัญชร
มี 28 พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น.
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่หูซ้าย
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
พระขันธปริตร พระโมรปริตรและพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล
ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.
.................................
อานิสงส์พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณ ได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วแต่มีสิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ
พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านี้ จากนั้นเป็นอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษ ตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนา พระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้
พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านี้ จากนั้นเป็นอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง ๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษ ตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนา พระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้
อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร
ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกลาย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้นเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนาดังคำโบราณว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
สมเด็จฯ แปลคติธรรมในท่านั่ง
จากท่านั่งของสมเด็จฯ ที่กำมือทั้งสองไว้ระหว่างอกนั้น เป็นการสร้างปริศนาให้ท่านที่มีความเคารพและศรัทธาในองค์ท่านได้ขบคิดปริศนา ธรรม ทำไมท่านทำท่าเช่นนั้น เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ปริศนาธรรมนี้มีความหมายอยู่ 2 ประการ สองมือที่กำซ้อนกันอยู่นั้น หมายถึงกรรม 2 อย่าง คือ กรรมดี และกรรมชั่ว การที่ท่านอยกขึ้นไว้ใกล้กับหัวใจนั้น หมายถึงใจเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้นมา ฉะนั้น การกระทำใด ๆ ทั้งทางกาย ทั้งทางวาจา และใจ ต้องใคร่ครวญเสียก่อนว่า ที่จะทำ จะพูด จะคิดนั้น ถูกหรือผิด จะดีหรือจะชั่ว ต้องมีสติ อย่าปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตใจ คิดและใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงกระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องและสมควร
คติธรรมที่สมเด็จฯ ประทานไว้ในท่าที่นั่งของท่านนี้ จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่สาธุชนผู้นำไปปฏิบัติ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัวและแก่สังคม
หมายเหตุ: คำแนะนำทั้งหมดสำหรับผู้ที่มีความศรัทธามั่นคงใน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และเป็นผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจประพฤติตัวอยู่ในศีล ผู้นั้นก็จะได้รับความสุขและรอดพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ นอกจากว่าจะเกิดจากกรรมในอดีต ส่งผลมาถึงท่านก็ช่วยให้หนักเป็นเบาได้ ขอให้ทำเป็นประจำ และช่วยกันเผยแพร่ต่อ ๆ ไปด้วยเป็นการเพิ่มกุศลให้กับตนเอง
ตอนก่อนจะออกจากบ้านทุกเวลา ให้พนมมือ สวดนะโม… 3 จบแล้วว่า
“ชินะปัญชะระปะริตตังมัง รักขะตุ สัพพะทา” 3 จบ
“ขอพระชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้า ตลอดเวลาทุกเมื่อ”
ขออนุโมทนาบุญกับแหล่งที่มาด้วยค่ะ
http://www.dhammajak.net/prayer/chinna01.php
และก็คุณ หมิว ชนกนันท์ สมสุขวีกุล ที่เตือนเรื่องการเพิ่มเติมบทสวดชินบัญชรค่ะ
http://www.dhammajak.net/prayer/chinna01.php
และก็คุณ หมิว ชนกนันท์ สมสุขวีกุล ที่เตือนเรื่องการเพิ่มเติมบทสวดชินบัญชรค่ะ